BBLAM นำเสนอขาย 2 กองทุนใหม่ ได้แก่ B-GLOB-INFRARMF และ B-GLOBINFRASSF โดยเปิดขายครั้งแรกวันที่ 4–10 ตุลาคม 2565 มุ่งหวังให้ผู้ลงทุนในกองทุน RMF และ SSF ปรับสัดส่วนพอร์ตของตนเอง โดยเพิ่มกองทุนที่พร้อมสู้เงินเฟ้อและทนแรงเสียดทานของตลาดหุ้นขาลงได้

 

รายงานข่าวจาก  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม  บัวหลวง จำกัด   หรือ   BBLAM  เปิดเผยว่า   BBLAM  สื่อสารกับนักลงทุนสม่ำเสมอตลอดปีนี้  ถึงภาวะเงินเฟ้อที่จะยังคงสูงต่อเนื่อง และตลาดขาลงก็จะยังเกิดขึ้นต่อไปช่วงใหญ่ๆ      ซึ่งคำแนะนำส่วนมากก็จะเป็น  “การทยอยสะสม”  “เผื่อใจลงทุนระยะยาว”  โดยมองการลงทุนเป็นสองส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ส่วนแรก   คือ  การทยอยสะสมในกองทุนมีธีมลงทุนในหุ้นที่มีอนาคตดีและราคาปรับตัวลงมาแรงในช่วงที่ผ่านมา และส่วนสอง คือ การเพิ่มกองทุนที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่มีเป้าหมายชัดเจนในการเอาชนะเงินเฟ้อ ซึ่งการปรับพอร์ตให้มีทั้งสองส่วนนี้ ก็จะทำให้พอร์ตลงทุนของผู้ลงทุนสามารถทนต่อแรงกดดันจากสภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งก็เตรียมตัวเก็บโอกาสได้ทันทีเมื่อมีสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยนักลงทุนต้องยอมรับเงื่อนไขอย่างหนึ่งว่าอาจจำเป็นต้องถือครองการลงทุนระยะยาว เพราะเป็นไปได้ว่าช่วงตลาดขาลงนี้ ราคาหุ้นก็ยังอาจปรับตัวลงมาได้อยู่เป็นระยะ

สำหรับกองทุน RMF และ SSF จะได้ประโยชน์จากข้อดีที่มีเงื่อนไขลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว เพียงแต่อาจต้องปรับพอร์ตเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์  ดังเช่น ปัจจุบันที่การปรับพอร์ตต้องคำนึงถึงเรื่องของเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยยังคงอาจขึ้นต่อ และเศรษฐกิจอาจจะถดถอย ซึ่ง BBLAM เอง จึงเห็นว่าผู้ลงทุนกลุ่มนี้ควรเพิ่ม “กองทุนที่พร้อมสู้เงินเฟ้อ และทนทานต่อแรงเสียดทานของตลาดขาลงได้” ดังนั้น จึงนำเสนอกองทุน B-GLOB-INFRARMF และ B-GLOB-INFRASSF แก่นักลงทุนในเวลานี้

 

B-GLOB-INFRARMF และ B-GLB-INFRASSF ทั้งสองกองทุนจะไปลงทุนในหน่วยของกองทุน Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน Class S Acc (USD) บริหารงานโดย ClearBridge Investments ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของ Franklin Resources, Inc. ซึ่งกองทุนนี้เน้นลงทุนในตราสารทุนและหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเดียวกับตราสารทุนในบริษัทที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศ G7 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และแคนาดา โดยมีเป้าหมายที่ต้องเอาชนะ คือ ดัชนี OECD Major 7 CPI + 5.5% หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ต้องบริหารจัดการเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินเฟ้อกลุ่ม G7 หลังจากที่บวกเพิ่มไปอีก 5.5% นั่นเอง

ถึงแม้ว่า ท้ายที่สุดของ B-GLOB-INFRARMF และ B-GLOB-INFRASSF จะลงทุนในกองทุนหลักกองเดียวกัน แต่วิธีการลงทุนอาจจะต่างกันบ้าง โดย B-GLOB-INFRARMF จะมีนโยบายเข้าไปลงทุนโดยตรงในกองทุนหลัก ขณะที่ B-GLOB-INFRASSF  จะลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ (B-GLOB-INFRA)   ทั้งนี้     B-GLOB-INFRASSF  ซึ่งมีเงินไปลงทุนใน B-GLOB-INFRA จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อนกัน

แนวคิดของกองทุนหลักที่ลงทุนในหุ้นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสามารถในการปรับขึ้นราคาได้ สามารถปรับไปลงทุนในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นขาขึ้นหรือลง ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ทุกวัน เช่น ธุรกิจเสาส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซ โรงไฟฟ้า เป็นต้น และรัฐบาลยังเปิดทางให้ผู้ประกอบการที่ลงทุนสามารถปรับขึ้นราคาได้ และผลตอบแทนที่ผ่านมาตั้งแต่ตั้งเปิดกองทุนในปี 2010 ถึงปี 2021 ก็พิสูจน์แล้วว่าสามารถเอาชนะเป้าหมายดังกล่าวได้แทบทุกปี ยกเว้นปี 2015 และปี 2018 เท่านั้น อย่างไรก็ตามหุ้นกลุ่มนี้ในบางภาวะที่ตลาดผันผวนหนัก ๆ ก็ยังคงได้รับผลกระทบบ้างแต่โดยปกติจะไม่มากเท่า Growth stock

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *