นางนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด หรือ SCBAM เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นกลุ่มอาเซียนมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) สูงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศในอาเซียนด้วยกัน โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศใน ASEAN โดย IMF คาดการณ์การเติบโต GDP ของประเทศอินโดนีเซียไว้ที่ 5.3% – 5.8% ในอีก 3 – 5 ปีข้างหน้า อีกทั้งมูลค่าพื้นฐานของตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม และการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนมีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้นของประเทศอื่นค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะตลาดหุ้นโลกและตลาดหุ้นสหรัฐฯ จึงเหมาะเป็นทางเลือกที่ช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนได้ SCBAM จึงได้เปิดเสนอขาย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นอินโดนีเซีย (SCBINDO) เริ่มเสนอขายครั้งแรกวันที่ 20–26 กันยายน 2565 นี้ โดยในช่วงแรกจะเสนอขายเฉพาะชนิดสะสมมูลค่า SCBINDO(A) ผู้ลงทุนสามารถลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท
กองทุน SCBINDO เป็นกองทุน Feeder fund เน้นลงทุนในกองทุนหลัก VanEck Indonesia Index ETF ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ บริหารจัดการโดย VanEck Associates Corporation ซึ่งเป็นกองทุนดัชนีมุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี MVIS Indonesia เน้นลงทุนในธุรกิจทั้งในอินโดนีเซียและนอกอินโดนีเซีย ที่มีรายได้/สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 50% ในประเทศอินโดนีเซีย ครอบคลุมหุ้นขนาดกลาง–ใหญ่ หรือคิดเป็นจำนวน 85 – 90% ของจำนวนหุ้นที่สามารถซื้อขายได้ (free-floated market Cap) ของตลาด และมีสภาพคล่องสูง ทั้งยังกระจายลงทุนในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ช่วยลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในหุ้นรายตัว จากการให้น้ำหนักหุ้นรายตัวสูงสุดที่ไม่เกิน 8% และการคัดเลือกหุ้นด้วยระบบวิเคราะห์เชิงปริมาณยังสามารถช่วยลดอคติของมนุษย์ (human bias) โดยมีตัวอย่างหุ้นในพอร์ต อาทิเช่น BBCA IJ ธนาคารเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ, BBRI IJ ธนาคารของภาครัฐที่เชี่ยวชาญด้านไมโครไฟแนนซ์ หรือ GOTO IJ ที่เป็นบริษัทโฮลดิ้งจากการควบรวมของสตาร์ทอัพยักษ์ใหญ่ Gojek และ Tokopedia เป็นต้น โดยทั้งนี้ กองทุน SCBINDO มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน USD/THB ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
อินโดนีเซีย ถือเป็นตลาดที่เศรษฐกิจยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดยภาครัฐตั้งเป้าที่จะเพิ่มขนาดเศรษฐกิจให้ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก และเพื่อต้องการให้ประเทศออกจากอันดับรายได้ปานกลางภายในปี 2036 และเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2045 โดยจะผลักดันการเติบโตผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างๆ ในขณะเดียวกัน เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงไหลเข้ามาทำธุรกิจในประเทศอินโดนีเซียและมีจำนวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ASEAN-4 และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ ตัวเลข FDI เติบโตสูงถึงกว่า 40%YoY โดยส่วนใหญ่เข้ามาในภาคการผลิต และขนส่ง หลังจากรัฐบาลลดกฎเกณฑ์ต่างๆ ของการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
นอกจากนี้ โครงสร้างประชากรยังเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ จากจำนวนประชากรที่มากเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นวัยแรงงานค่อนข้างมาก มีค่าแรงขั้นต่ำในระดับที่ไม่สูง ซึ่งเป็นปัจจัยเอื้อต่อการผลักดันในการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในภาคอุตสาหกรรม และการบริโภคในประเทศเป็นอย่างมาก โดยสินค้าโภคภัณฑ์เป็นสินค้าส่งออกหลักที่มีมูลค่าเติบโตสูง ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี โดยได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ที่ยังอยู่ในระดับสูง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น หุ้นในกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และกลุ่มธนาคาร ซึ่งมีสัดส่วนน้ำหนักเป็นอันดับต้นๆ ของดัชนีตลาดหุ้นอินโดนีเซียจึงได้รับประโยชน์จากสภาวะการลงทุนในขณะนี้