นายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เปิดเผยผ่าน “Finnovate Update” รายการใหม่ล่าสุดของกรุงศรี ฟินโนเวต ที่จะมาอัปเดตผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท แผนงานในอนาคต และเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการบรรลุให้สำเร็จ

Krungsri Finnovate ทำให้กรุงศรีเป็นธนาคารที่ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานกับสตาร์ทอัพกว่า 72 บริษัท กว่า 122 โปรเจกต์ และส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลของกรุงศรีและบริษัทในเครือถึง 38 หน่วยธุรกิจ
ปัจจุบัน Krungsri Finnovate ลงทุนไปแล้ว 18 บริษัท โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5,000 ล้านบาท
บริษัทฯ ได้ตั้ง Finnoventure Private Equity Trust 1 กองทุนมูลค่า 3,000 ล้านบาท กองแรกในไทยที่มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพและเปิดให้นักลงทุนรายบุคคล (UI) ได้ร่วมลงทุน
Krungsri Finnovate ได้ทุ่มกว่า 1,000 ล้านบาท ลงทุนในสตาร์ทอัพไทยด้าน DeFi ผ่านกองทุน Finnoverse
และ Krungsri Finnovate จะมุ่งสู่เป้าหมายในการผลักดัน FinTech Startup ให้เติบโตสู่ยูนิคอร์น

แซม ตันสกุล เริ่มต้นในรายการ โดยเปิดเผยว่า ‘Krungsri Finnovate ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพมาได้ 5 ปีแล้ว จนหลายๆ คนเริ่มถามว่า ในพอร์การลงทุนของเรามียูนิคอร์นอยู่แล้วถึง 2 บริษัท ไม่ว่าจะเป็น Flash Express และ Grab ซึ่งมีความน่าสนใมาก และนำมาสู่คำถามที่นักลงทุนหลายๆ คนเริ่มถามว่า ถ้าอยากจะร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพเหล่านั้นด้วยต้องทำอย่างไร นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Krungsri Finnovate กลับมาพิจารณาถึงรูปแบบและความเป็นไปได้ว่า จริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องลงทุนเองรายเดียว แต่สามารถสร้างการลงทุนร่วมได้ซึ่งนำมาสู่การสร้างโมเดลการลงทุนในรูปแบบ Private Equity ที่เป็นการรวบรวมเงินทุนจากลูกค้าสถาบันรายใหญ่และลูกค้า Private Banking ของธนาคารมารวมลงทุนด้วยกันโดยมีมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาท

โดยในมูลค่าดังกล่าวมีส่วนที่ Krungsri Finnovate ร่วมลงทุนอยู่ด้วยที่ 500 ล้านบาท และบริษัทยังได้พันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่าง OR ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สยามราชธานี ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ซึ่งเป็นกลุ่มของมาม่า และยังมี NTT Data ที่เป็น Global Tech จากทางญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนเราเรียกกลุ่มนักลงทุนเหล่านั้นว่าเป็น Avengers รวมกับเงินลงทุนจากนักลงทุนในกลุ่ม Private Banking ซึ่งรวมกันทั้งหมดเป็น 3,000 ล้านบาทเพื่อลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพทั้งไทยและอาเซียน โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้สตาร์ทอัพที่มีศักยภาพเหล่านั้นโตไปเป็นยูนิคอร์นไปด้วยกัน สำหรับกองทุน Private Equity นี้หลักๆ จะเลือกลงทุนใน 3 ด้านคือ 1) FinTech 2) E-Commerce Tech และ 3) Automative Tech ซึ่งกองทุนนี้จะถูกรู้จักในชื่อ Finnoventure Fund

แซม เล่าต่อว่า นอกจากเรื่องของการจัดตั้งกองทุนแล้ว ยังมีในส่วนของการทำโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างกรุงศรีกรุ๊ป กับสตาร์ทอัพด้วย ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานในกรุงศรีกรุ๊ปถึง 38หน่วยงานแล้วที่ได้ร่วมทำงานกับสตาร์ทอัพ โดยมีทีมกรุงศรี ฟินโนเวต เป็นผู้นำเสนอและจับคู่ให้ ในปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ เองเล็งเห็นว่าการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้น หากจะกระโดดมาลงมือทำเองต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนที่สูงมาก ซึ่งกลับกันหากเลือกทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ ก็จะช่วยลดทอนในเรื่องของทั้งต้นทุนและเวลา

ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพียง 3-6 เดือน ก็สามารถเริ่มโปรเจ็คใหม่ หรือโซลูชั่นใหม่ได้แล้ว ขณะที่สตาร์อัพเองก็มี Mindset พร้อมลุย พร้อมที่จะต่อยอด ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นที่มาของความสำเร็จในวันนี้ ที่เราได้ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากมายกว่า 72 บริษัท กับอีก 122โปรเจกต์ เรียกได้ว่าเราทำงานกับสตาร์อัพมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของทีมงาน Krungsri Finnovate’

แซม เผยเพิ่มเติมถึงเป้าหมายทีตั้งไว้และต้องการบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จว่า ปัจจุบันจากทั้งหมด 18 กิจการสตาร์ทอัพที่กรุงศรี ฟินโนเวตได้ลงทุนไปนั้น มีสตาร์ทอัพที่เป็นยูนคอร์นแล้ว 2 ราย ขณะที่อีก 5 สตาร์อัพไทยกำลังเตรียมตัวทำ IPO สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเรามี Track record ที่ดี เราดูแลสตาร์ทอัพในพอร์ของเราอย่างดี โดยไม่ใช่แค่เพียงเข้าไปลงทุนอย่างเดียวแต่ยังพร้อมสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างจริงใจ และคิดเสมอว่าจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาธุรกิจให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นได้อย่างไร

ดังนั้นเราจึงไม่ได้เป็น Passive investor แต่เราเป็น Active investor นั่นเอง นอกจากนี้เรายังพยายามหาทางต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพกับกรุงศรีกรุ๊ป และInvestor ในกลุ่ม Avengers ของเราด้วย ดังนั้นKrungsri Finnovate และ Avengers พร้อมที่จะผลักดันให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นเติบโต โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า เราจะมี 5 ยูนิคอร์นที่เราสร้างเอง เหมือนกับ Flash ที่เราเลือกลงทุนตั้งแต่ยังไม่เป็นยูนิคอร์น และในที่สุดก็สามารถขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นได้ นี่คือเป้าหลักสำคัญของเราครับ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *